Privacy Coins คืออะไร
Crypto Basics

Privacy Coins คืออะไร

11ในการอ่าน
2 years ago

Privacy Coins มีความเป็นส่วนตัวแค่ไหน พวกเขาถูกกฎหมายหรือไม่ เราตอบสิ่งนั้นและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ Privacy Coins นี้อย่างละเอียด

Privacy Coins คืออะไร

สารบัญ

‍Bitcoin ถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกของระบบการเงินแทนสกุลเงินประจำชาติที่รัฐบาลควบคุมอยู่ น่าเสียดาย เนื่องจากธรรมชาติของ ชื่อแฝง ทำให้ผู้ให้การสนับสนุนคริปโตบางคนเชื่อว่ามันขาดคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวที่จำเป็นในการปกป้องผู้ใช้อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการที่ห้ามหรือระงับการใช้ คริปโตเคอร์เรนซี
ในความเป็นจริง Bitcoin นั้นให้ความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าสกุลเงิน Fiat ในบางแง่มุม เนื่องจากมันเป็นบล็อคเชนสาธารณะ ซึ่งหมายความว่า ทุกคน ที่มีทรัพยากรเพียงพอในการวิเคราะห์เชนก็สามารถเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงซึ่งซ่อนอยู่หลังแอดเดรสสาธารณะได้
นอกจากนี้ก็ยังมีบางประเด็นที่ Privacy Coins ยังค่อนข้างขัดแย้งกันอยู่ เช่น Monero และ Dash ที่ได้รับความนิยมในการแก้ไขปัญหาที่อยู่นี้โดยให้ผู้ใช้สามารถส่งและรับมูลค่าได้โดยไม่เปิดเผยตัวตน Privacy Coins จำนวนมากได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ในตลอดเส้นทางของพวกเขา แล้วคริปโตเคอเรนซี่ตัวไหนที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุด
วันนี้ เรามีเหรียญที่เน้นความเป็นส่วนตัวจำนวนมากในตลาดคริปโต จนยากที่จะเลือกว่าเหรียญใดจะเหมาะกับความต้องการของเรา จะต้องบอกว่า privacy coins กำลังเพิ่มขึ้นในพื้นที่คาบเกี่ยวของหน่วยงานกำกับดูแล การต่อต้านการฟอกเงิน (AML) ในระดับโลก เนื่องจากความสามารถในการอำนวยความสะดวกในการฟอกเงิน (ML) และการระดมทุนเพื่อการก่อการร้าย (TF) และผลจากการถูกเพิกถอนจากตัวกลางการแลกเปลี่ยนหลาย ๆ แห่ง โปรดใช้ความระมัดระวังเมื่อต้องจัดการกับ privacy coins และควรทำให้แน่ใจว่าคุณได้ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด

บทความนี้จะทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับ Privacy Coins อันดับต้น ๆ และพูดคุยเกี่ยวกับคุณสมบัติที่มีความแตกต่างทั้งหลาย

Join us in showcasing the cryptocurrency revolution, one newsletter at a time. Subscribe now to get daily news and market updates right to your inbox, along with our millions of other subscribers (that’s right, millions love us!) — what are you waiting for?

Privacy Coins คืออะไร

Privacy coins จัดเป็นเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีประเภทหนึ่งที่ขับเคลื่อน ธุรกรรม ของบล็อคเชนแบบส่วนตัวและไม่ระบุตัวตนโดยการ ปิดบัง ทั้งที่มาและปลายทาง เทคนิคบางอย่างที่ใช้ในคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ระบุตัวตนเหล่านี้รวมถึงการซ่อนยอดคงเหลือในวอลเลทจริงและที่อยู่ของผู้ใช้ และการผสมธุรกรรมหลายรายการเข้าด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์เชน
ด้วยความโปร่งใสนี้ทำให้ Bitcoin และ บล็อคเชน ที่ไม่ใช่แบบที่มีความเป็นส่วนตัวอื่น ๆ อนุญาตให้ ทุกคนสามารถดูที่อยู่สาธารณะและธุรกรรมในเครือข่ายของพวกเขา ซึ่งทำให้ง่ายต่อการติดตามการฝากและถอนของบุคคลต่าง ๆ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม privacy coins นั้นรองรับสถานะการณ์สองด้านที่แตกต่างกัน ได้แก่ การไม่เปิดเผยชื่อและไม่สามารถติดตามได้ การไม่เปิดเผยตัวตนเป็นการซ่อนตัวตนที่อยู่เบื้องหลังธุรกรรม ในขณะที่คุณสมบัติของการไม่สามารถติดตามได้ทำให้บุคคลที่สามไม่สามารถติดตามธุรกรรมด้วยการใช้บริการต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์บล็อคเชน

กลยุทธ์ที่ใช้โดย Privacy Coins

เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและไม่สามารถติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ privacy coins ได้ใช้ กลยุทธ์ ที่หลากหลายเพื่อให้มันกลายเป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด โดยกลยุทธ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ ที่อยู่แบบซ่อนเร้น, ring signatures, CoinJoin และ zk-SNARK
  • ที่อยู่แบบซ่อนเร้น จะต้องให้ผู้ส่งสร้างที่อยู่ใหม่สำหรับทุกธุรกรรมที่จะส่งเพื่อหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงกับผู้รับ Monero (XMR) ซึ่งเป็นหนึ่งใน privacy coins ชั้นนำ ที่ใช้ที่อยู่แบบซ่อนเร้นที่เรียกว่า dual-key stealth address protocol (DKSAP)
  • CoinJoin เป็นที่รู้จักกันในนามเครื่องผสมเหรียญที่รวมธุรกรรมจากบุคคลต่าง ๆ เข้าเป็นธุรกรรมเดียวแล้วแจกจ่ายให้กับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ที่อยู่ใหม่แทน
  • Zk-SNARKs (Zero-Knowledge Succinct Non-Interactive Argument of Knowledge) อนุญาตให้ผู้ถือครองคริปโตเคอร์เรนซีสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและยอดคงเหลือในบัญชี

Privacy Coins ถูกกฎหมายหรือไม่

ใช่ และไม่ใช่ ความถูกต้องตามกฎหมายของ privacy coins ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจศาลแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น ในเกาหลีใต้ รัฐบาล ห้าม ซื้อขาย privacy coins ในตัวกลางการแลกเปลี่ยนคริปโตของประเทศเพื่อ ควบคุม การฟอกเงิน

อย่างไรก็ตาม เขตอำนาจศาลที่ไม่ได้มีข้อห้ามเกี่ยวกับ privacy coins ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะได้รับการรองเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าการดำเนินการของพวกเขาใช้ประโยชน์จากพื้นที่สีเทาในกฎหมายของประเทศต่าง ๆ นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ใช้เส้นทางที่แตกต่างออกไปคริปโตเคอร์เรนซีที่ใช้นามแฝงต่าง ๆ เพื่อพยายามพัฒนาเครื่องมือเที่ใช้ในการขจัดสิ่งปลอมปนในธุรกรรมที่ดำเนินการบนเครือข่ายแบบส่วนตัว

การทำธุรกรรมส่วนตัวโดยใช้ privacy coins ไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การฟอกเงินและการจัดหาเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย ผู้ใช้บางคนให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวทางการเงินและต้องการใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน แต่จำนวนหน่วยงานของรัฐที่ปราบปรามคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถติดตามได้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่น่าสนใจคือ บุคคล ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น Naval Ravikant, Elon Musk และ Edward Snowden ยังคงสนับสนุนแอพที่เน้นความเป็นส่วนตัวเหล่านี้
มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูว่าการดำเนินการและคำแนะนำใดที่หน่วยงานกำกับดูแลในระดับโลกเช่น Financial Action Task Force (FATF) จะนำมาปรับใช้กับ privacy coins แม้ว่า privacy coins จะยังไม่ถูกแบนในตอนนี้ แต่พวกเขากำลังทำให้สิ่งต่าง ๆ ยากขึ้นสำหรับทั้งระดับประเทศและตัวกลางการแลกเปลี่ยนที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการแบ่งปันข้อมูลเนื่องจากกฎระเบียบเช่น FATF Travel Rule
ร่างคำแนะนำ FATF ฉบับใหม่ ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2021 หลังจากการปรึกษาหารือสาธารณะ จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับ AML/CFT แบบใหม่สำหรับผู้ที่ต้องรับมือกับ enhanced-anonymity currencies (AEC) ที่ FATF เรียกมันว่า privacy coins นั่นเอง

เหตุใด Privacy Coins จึงถูกเพิกถอนในตัวกลางการแลกเปลี่ยนบางรายการ

การเพิกถอนเหรียญความเป็นส่วนตัวนั้นผูกติดอยู่กับความคิดเห็นของประเทศหรือภาระผูกพันของ AML/CFT และวิธีที่มันควบคุมการทำธุรกรรมส่วนตัวในการตอบสนอง ในขณะที่การทำธุรกรรมของคริปโตเคอร์เรนซีที่เน้นความเป็นส่วนตัวสามารถหลีกเลี่ยงหน่วยงานกำกับดูแลได้ แต่ผู้ดูแลด้านการเงินก็มีอำนาจเหนือ ตัวกลางการแลกเปลี่ยนแบบ centralized ในคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถติดตามได้

เมื่อหน่วยงานกำกับดูแลแบนคริปโตเคอร์เรนซีเฉพาะภายในขอบเขตของมัน ตัวกลางการแลกเปลี่ยนจำเป็นต้องหยุดการซื้อขายโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อการต้องปิดตัวลง ในกรณีเช่นนี้ ตลาดซื้อขายคริปโตบางแห่งอาจเลือกที่จะหยุดการซื้อขายในขณะที่บางแห่งอาจดึงเหรียญออกจากแพลตฟอร์มอย่างสมบูรณ์

Privacy coins กำลังเผชิญกับการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแลในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้บังคับให้บริษัทแลกเปลี่ยนบางแห่งต้องเพิกถอนคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เหล่านี้ออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านกฎระเบียบ

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ privacy coins ชั้นนำอย่าง Dash (DASH), Monero (XMR) และ Zcash (ZEC) ได้ถูก เพิกถอน โดยแพลตฟอร์มการซื้อขาย ชั้นนำ หลายแห่ง รวมถึง Bittrex, CoinCheck, Coinbase UK และ ShapeShift (ในขณะที่ Gemini ได้ เพิ่ม Zcash เข้าไปแล้ว กันยายน 2563)

เหตุผลเบื้องหลังการเพิกถอนคือมาตรฐานของ FATF ที่แนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนด 16 ประการ ซึ่งสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศในการทำให้แน่ใจว่าตัวการแลกเปลี่ยนของพวกเขาหรือผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนจริง (VASP) จะแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการระบุตัวตนของผู้ใช้ระหว่างกันเมื่อทำการโอนเงิน หน่วยงานกำกับดูแลบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้โดยกำหนดให้ VASP ของตนปฏิบัติตามภาระผูกพันนี้เมื่อยื่นขอใบอนุญาตปฏิบัติการหรือการลงทะเบียน

แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ แต่ รายงานบางฉบับ ระบุว่าอาชญากรยังคงชื่นชอบ Bitcoin มากกว่า privacy coins ตัวอื่น ๆ แม้ว่าจะขาดคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวก็ตาม

Privacy Coins ที่ดีที่สุด

Dash

Dash เป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ระบุตัวตนซึ่งเริ่มต้นจากการเป็น Bitcoin ในปี 2014 privacy coin ในรุ่นบุกเบิกนั้นถูกเรียกว่า XCoin ต่อมาเปลี่ยนเป็น DarkCoin และสุดท้ายก็คือ Dash นั่นเอง Dash มีคุณสมบัติในการไม่เปิดเผยตัวตนแบบเลือกได้ เช่น PrivateSend ซึ่งใช้กลยุทธ์ CoinJoin เพื่อปกปิดอินพุตของธุรกรรมจริง
Dash Core Group (DCG) ซึ่งดูแลการพัฒนาของคริปโตเคอร์เรนซีได้อธิบายว่า Dash มุ่งเน้นไปที่คุณสมบัติการใช้งานและการปกป้องผู้ใช้ การเป็น Bitcoin fork หมายความว่า Dash ไม่ได้มีการระบุตัวตนโดยกำเนิด นอกจากนี้ Ryan Taylor ซีอีโอของ DashPay คิดว่า Dash ไม่จัดว่าเป็น anonymity-enhanced cryptocurrency (AEC)

ในฐานะที่เป็น Bitcoin fork รายละเอียดการทำธุรกรรมเช่นยอดคงเหลือในวอลเลทและที่อยู่จะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในบล็อคเชนของมันเอง เว้นแต่ผู้ใช้จะใช้ตัวเลือก PrivateSend

Dash เปรียบเทียบกับ Bitcoin

ความแตกต่าง ที่สำคัญระหว่าง Dash และ Bitcoin นั้นอยู่ในอัลกอริธึม ฉันทามติของพวกมัน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ทั้งคู่ทำงานแต่แรกเริ่มโดยใช้ proof-of-work (PoW) แต่ Dash กลับมีเลเยอร์พิเศษที่โฮสต์มาสเตอร์โหนดที่ ขับเคลื่อน โดยกลไก proof-of-stake (PoS)

ดังนั้น Dash อาจถูกมองว่าเป็น privacy coins ที่ดีที่สุดในแง่ของความง่ายในการใช้งาน เนื่องจากความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงขึ้นและต้นทุนการทำธุรกรรมต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Dash ที่ใช้คุณสมบัติการส่งออกทันที ซึ่งเป็นกลไกที่สะดวกที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเกิดขึ้นได้ในทันที

Bitcoin ล้าหลังในแง่ของ ความเป็นส่วนตัว เมื่อเทียบกับ Dash ในฐานะคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ระบุตัวตน โดยให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้อย่างชัดเจนว่าจะเปิดธุรกรรมของตนเพื่อการตรวจสอบโดยสาธารณะหรือไม่

Dash เปรียบเทียบกับ Monero

แม้ว่าคริปโตเคอร์เรนซีทั้งสองจะมีฟังก์ชันความเป็นส่วนตัว แต่ก็มีความแตกต่าง พื้นฐาน ในการออกแบบให้เป็น privacy coins Dash ใช้ระบบสองระดับที่รวมเอา PoW กับ PoS ไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ คุณลักษณะการไม่เปิดเผยชื่อของมันยังเป็นตัวเลือกผ่านฟังก์ชัน PrivateSend อีกด้วย

ในทางกลับกัน ธุรกรรมบนเครือข่าย Monero จะเป็นไปในแบบที่ไม่ระบุตัวตน โปรดทราบว่า Dash ใช้ CoinJoin ในขณะที่ Monero ใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากมาย รวมถึง ring signatures, RingCT เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถติดตามได้ยิ่งกว่า Dash

Monero ได้เปรียบ Dash เมื่อพูดถึงความเป็นส่วนตัว แต่ DASH นั้นเร็วกว่าและถูกกว่า XRM มาก

Dash เปรียบเทียบกับ Zcash

Dash ใช้ อัลกอริทึม X11 hashing ในขณะที่ Zcash ใช้ กลไก zk-SNARK และอัลกอริทึม Equihash พวกเขามีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งรวมถึง Bitcoin fork โดยขีดจำกัดขนาดบล็อกอยู่ที่ 2MB และใช้เวลายืนยันบล็อก 2.5 นาที
เมื่อพูดถึงความเป็นส่วนตัว Zcash ชนะ Dash เนื่องจากธุรกรรมของ Dash สามารถติดตามได้เมื่อมีการเข้าถึงมาสเตอร์โหนด

Monero

Monero (XMR) ได้รับการพิจารณาจากหลาย ๆ คนแล้วว่าเป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ระบุชื่อที่ดีที่สุดในตลาด เนื่องจากใช้ชุดคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวอันทรงพลัง เช่น RingCT ที่อยู่ที่ซ่อนตัว และยังใช้ RingCT, stealth addresses และ Ring signatures เพื่อส่งเสริมคุณสมบัติการไม่เปิดเผยตัวตนที่ครอบคลุม

อันที่จริง ความเป็นส่วนตัวของ Monero นั้นยอดเยี่ยมมากจนหน่วยงานสรรพากรของสหรัฐอเมริกา (IRS) ต้องจ่าย เงินรางวัล ประมาณ 625K ดอลลาร์สำหรับผู้ที่สามารถถอดรหัสเทคโนโลยีการไม่เปิดเผยตัวตนได้ อย่างไรก็ตาม พนักงานของ Chainalysis อ้าง ว่า “Monero นั้นเป็นการคิดค้นที่ชาญฉลาด” แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดไร้ที่ติ
ในการตรวจสอบหรือพิสูจน์การชำระเงินที่ผ่านไปแล้ว ผู้ใช้จำเป็นต้องระบุมากกว่าแค่ ID ธุรกรรม ของ Monero (แฮช) คุณจะต้องใช้รหัสธุรกรรม Monero, คีย์ธุรกรรมส่วนตัว (คีย์แบบใช้ครั้งเดียวที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ) และที่อยู่สาธารณะของผู้รับแทน ด้วยข้อมูลสามส่วนนี้ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถตรวจสอบได้โดยใช้วอลเลท Monero GUI

Monero เปรียบเทียบกับ Bitcoin

นอกเหนือจากการใช้งาน อัลกอริธึม ฉันทามติของ PoW แล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจาก Bitcoin เป็นเพียงคริปโตเคอร์เรนซีแบบนามแฝง ในขณะที่ Monero เป็นหนึ่งในคริปโตเคอร์เรนซีที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุดที่มีอยู่ในตอนนี้
ในการขุด Bitcoin ส่วนใหญ่ต้องการ ASIC ((application-specific integrated circuits) ในขณะที่ Monero ไม่สนับสนุนการใช้ ASIC ซึ่งทำให้ผู้ขุดต้องทำการขุดด้วย CPU อย่างเดียว นอกจากนี้ คริปโตเคอร์เรนซีชั้นนำยังใช้อัลกอริธึมการแฮช SHA-256 ในขณะที่โปรโตคอลของ privacy coin ที่ขับเคลื่อนด้วย XMR ใช้ RandomX
นอกจากนี้ เครือข่าย Bitcoin ยังมีขนาดบล็อกที่คงที่ ในขณะที่ Monero มีขนาดบล็อกที่ยืดหยุ่น ซึ่งดีที่สุดสำหรับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งคราว แม้จะมีทั้งหมดนั้น แต่อาชญากรจำนวนมากขึ้นยังคงชื่นชอบ BTC มากกว่า XMR เนื่องจาก Bitcoin นั้นง่ายต่อการแลกเปลี่ยนและเสนอข้อได้เปรียบของ crypto ต่อ fiat ที่มากขึ้น ตาม กรณีการศึกษาหนึ่ง

Zcash

ในการเปิดตัวในปี 2016 Zcash เป็นอีก privacy coin อันดับต้น ๆ ที่มีรูทเดียวกับ Dash ซึ่งเป็น ฟอร์ก ของ Bitcoin นำโดย Electric Coin Company คริปโตเคอร์เรนซีนิรนามเหล่านี้ใช้กลไก PoW ที่ใช้พลังงานมากเพื่อการยืนยันธุรกรรม
Zcash ยังเสนอทางเลือกในการซ่อนธุรกรรมผ่านกลไกความเป็นส่วนตัวและการตรวจสอบย้อนกลับที่เรียกว่าธุรกรรมที่มีการป้องกันและ zk-SNARKS

Dash เปรียบเทียบกับ Monero

ประการแรก Zcash ใช้คุณสมบัติ zk-SNARK ในขณะที่ Monero รวมที่อยู่ที่ซ่อนไว้ ธุรกรรมที่เป็นความลับของริงและธุรกรรมการของริง Zcash ส่งเสริม ความเป็นส่วนตัวที่เป็นตัวเลือก ในขณะที่ธุรกรรมใด ๆ ที่ดำเนินการบน Monero จะไม่ระบุชื่อตามค่าเริ่มต้น

ใน Zcash ผู้ใช้จะเพลิดเพลินไปกับความยืดหยุ่นในการเลือกธุรกรรมที่ต้องการซ่อนเนื้อหา และธุรกรรมใดที่พวกเขาต้องการเปิดเผยต่อสาธารณะ – ทำให้มันเป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่เปิดเผยตัวตนที่ยืดหยุ่นได้

ในทางกลับกัน นักพัฒนา Monero เชื่อว่าการกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นทางเลือกจะทำให้ชุดการไม่เปิดเผยตัวตนของเครือข่ายส่วนตัวอ่อนแอลง

Zcash เปรียบเทียบกับ Bitcoin

Zcash เป็นตัวโคลนของ Bitcoin แต่มี คุณสมบัติ เพิ่มเติมเช่นความเป็นส่วนตัวที่ถูกเพิ่มมาเพื่อเป็นตัวเลือก ความแตกต่างอีกประการระหว่าง Zcash และ Bitcoin นั้นชัดเจนในการกระจายรางวัลการขุด
ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผู้ขุด Bitcoin ได้รับรางวัลทั้งหมดกลับบ้าน แต่ Zcash เคยใช้แนวทางที่แตกต่างออกไป เพื่ออธิบายให้เข้าใจง่าย 10% ของ แรงจูงใจ ในการขุดเคยถูกส่งไปที่ Electric Coin Company และแชร์กับผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นทุนสำหรับการพัฒนาในอนาคต อย่างไรก็ตาม การลดลงครึ่งหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2020 ได้กำจัด “รางวัลผู้ก่อตั้ง” ออกไป ตอนนี้ผู้ขุดได้รับรางวัล 80% ของรางวัลบล็อก โดยที่เหลืออีก 20% จะมอบให้กับกองทุน Major Grants Funds, ECC และ Zcash Foundation แห่งใหม่

Beam

Beam เป็นคริปโตเคอร์เรนซีแบบไม่เปิดเผยตัวตนซึ่งใช้ บล็อคเชน ที่ไม่เปิดเผยชื่อตัวใหม่ที่เรียกว่า Mimblewimble นอกเหนือจากความเป็นส่วนตัว เทคโนโลยีนี้ยังปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาดของโปรโตคอล PoW โดยนำเสนอโซลูชันข้อมูลในขนาดกะทัดรัดที่ดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น ตลอดจนตรวจสอบและซิงโครไนซ์ได้ง่ายขึ้น
Beam ยังจัดเตรียมธุรกรรมที่ไม่สามารถติดตามได้ผ่านที่อยู่ที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ Beam ยังซ่อนการรับส่งข้อมูลของเครือข่ายของมัน โดยใช้ กลไก Dandelion จากระยะไกล ธุรกรรม ขนาดเล็กที่ประกอบเป็นบล็อกเดียวจะแสดงเป็นธุรกรรมขนาดใหญ่รายการเดียว

Grin

Grin เปิดตัวในเดือนมกราคม 2019 ซึ่งใช้บล็อคเชน Mimblewimble เดียวกันกับ Beam เป็นหนึ่งใน privacy coins อันดับต้น ๆ ที่ทนต่อการเซ็นเซอร์และปรับขนาดได้ Grin แยกตัวเองออกจากกันโดยเป็นอิสระจากผู้ก่อตั้งที่ไม่ระบุชื่อ ด้วยเหตุนี้ แรงจูงใจของนักพัฒนาจึงมาจากการบริจาคเป็นหลัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แพลตฟอร์มนี้มีกฎเกณฑ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขุด นักขุดจะได้รับรางวัลใน อัตราเท่ากัน โดยไม่มีข้อกำหนด ซึ่งหมายความว่านักขุดที่เข้าร่วมเครือข่ายในเดือนธันวาคม 2030 จะได้รับรางวัลในจำนวนเท่ากันต่อบล็อกเช่นเดียวกับนักขุดคนแรกในเดือนมกราคม 2019
เครือข่ายใช้มาตรฐานธุรกรรมแบบเดียวกันที่เรียกว่า Slatepack เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของนักพัฒนาและผู้ใช้ และให้ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ความเข้ากันได้ และการจัดการไฟล์ที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นมา

PIVX

PIVX — ซึ่งย่อมาจาก Protected Instant Verified Transactions — เปิดตัวในเดือนมกราคม 2016 ในฐานะบล็อคเชนที่ทำงานแบบ proof-of-work แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นกลไก proof-of-stake ในเดือนสิงหาคม 2016 เป็นต้นมา PIVX เป็นคริปโตเคอร์เรนซีแบบนามแฝงที่มีเป้าหมายหลักในการปกป้องข้อมูลผู้ใช้
โปรโตคอลความเป็นส่วนตัวตัวใหม่ของพวกเขาซึ่งใช้งานในปี 2020 เป็นโปรโตคอลการปกป้องข้อมูลทางการเงินที่เรียกว่า SHIELD ซึ่งเป็นโปรโตคอล zk-SNARK แรกเริ่มตัวแรกของโลกบนบล็อคเชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โปรโตคอล zk-SNARK แรกเริ่มถูกสร้างขึ้นโดย Electric Coin Company ซึ่งอยู่เบื้องหลัง Zcash SHIELD ให้การปกป้องอย่างสมบูรณ์ในการทำธุรกรรมและการไม่เปิดเผยตัวตนระหว่างผู้ส่งและผู้รับ

แหล่งที่มาของเหรียญ จำนวนเหรียญที่ส่ง และที่อยู่ที่เกี่ยวข้องสามารถถูกปกปิดได้อย่างสมบูรณ์ ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่: การพิสูจน์อักษรแบบเบาที่มีขนาดเล็กเพียง 144 ไบต์; ความเร็วการทำธุรกรรมที่รวดเร็วเพียงครึ่งวินาทีในการตรวจสอบ, เวลาในการตรวจสอบเพียง 0.01 วินาที; การเรียกดูคีย์เพื่อให้สิทธิ์ในการดูรายละเอียดธุรกรรม ความเป็นมิตรกับผู้ใช้และความเรียบง่ายของการทำธุรกรรม

การทำธุรกรรมมีสี่ประเภทที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ในระบบนิเวศ PIVX: ความโปร่งใส, การป้องกัน (ความโปร่งใสถึงการป้องกัน), การกำจัดการป้องกัน (การป้องกันถึงความโปร่งใส) และเกราะป้องกัน

PIVX เป็นโครงการบล็อคเชนแบบโอเพ่นซอร์สแบบ decentralized ซึ่งได้รับการจัดการ พัฒนา และควบคุมโดยชุมชน — decentralized autonomous organization (DAO) โทเค็นดั้งเดิมของคริปโตเคอร์เรนซีที่ใช้บล็อคเชนที่มีการทำงานแบบ proof-of-stake ที่ไม่สามารถติดตามได้คือ PIV

อนาคตของ Privacy Coins

หัวใจสำคัญของการเข้ารหัสคือชุดของวิธีปฏิบัติและเทคนิคที่ออกแบบมาเพื่อให้มีการสื่อสารที่ปลอดภัยท่ามกลางการปรากฏตัวของบุคคลภายนอกต่าง ๆ ดังนั้นคริปโตเคอร์เรนซีที่มีความเป็นส่วนตัวจึงเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศของ คริปโต แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าคุณสมบัติของการที่ไม่สามารถติดตามได้จะก่อให้เกิดการโต้เถียงในทางกฎหมายก็ตาม

น่าเสียดายที่แม้หลังจากรายงานจะมีการแนะนำว่ามีการใช้คริปโตเพียงเล็กน้อยในการฟอกเงิน การระดมทุนจากการก่อการร้าย และกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ แต่รัฐบาลทั่วโลกยังคงให้คริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถติดตามได้และไม่เปิดเผยตัวเป็นสิ่งที่เฝ้าระวังอยู่

ในขณะที่ Monero ยังคงมีคุณสมบัติความเป็นส่วนตัวที่แข็งแกร่งที่สุด แต่ทาง Zcash และ Dash ก็ได้ให้ทางเลือกในการทำธุรกรรมสาธารณะโดยใช้ privacy coins ได้ Beam และ Grin เหมาะที่สุดสำหรับผู้ใช้ที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการขยายตัวได้มากเท่ากับความเป็นส่วนตัว

บทความนี้มีลิงค์ไปยังเว็บไซต์ของบุคคลที่สามหรือเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ("ไซต์ของบุคคลที่สาม") ไซต์ของบุคคลที่สามไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของ CoinMarketCap และ CoinMarketCap จะไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาของไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงลิงก์ที่มีอยู่ในไซต์ของบุคคลที่สาม หรือการเปลี่ยนแปลงหรืออัปเดตของบุคคลที่สามที่มีต่อไซต์ของบุคคลที่สาม CoinMarketCap ได้ส่งมอบลิงก์เหล่านี้แก่คุณเพื่อความสะดวกเท่านั้น และการรวมลิงก์ใด ๆ ไม่ได้หมายความถึงการรับรอง การอนุมัติ หรือเป็นการแนะนำโดย CoinMarketCap ของเว็บไซต์หรือการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้และต้องใช้เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการวิจัยและวิเคราะห์ด้วยตัวของคุณเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจที่สำคัญใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ที่ได้อธิบายไว้ บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นและจะไม่ถูกตีความว่าเป็นคำแนะนำทางการเงิน มุมมองและความคิดเห็นที่แสดงในบทความนี้เป็นของผู้เขียน [ของบริษัท] และไม่จำเป็นว่าจะต้องสะท้อนถึงความคิดเห็นของ CoinMarketCap แต่อย่างใด
16 people liked this article

Related Articles

Crypto Basics
คู่การแลกเปลี่ยนจากคริปโตเป็นเงินสกุลทั่วไปมีอะไรบ้าง?
คู่แลกเปลี่ยนจากคริปโตเป็นเงินสกุลทั่วไปมีความสำคัญสำหรับผู้ใช้งานในการย้ายระหว่างโลกของคริปโตและระบบการเงินดั้งเดิม โดยให้สภาพคล่องและโอกาสในการซื้อขาย
โดย Stuart Langridge
3 days ago
2ในการอ่าน
Crypto Basics
เมื่อไหร่ที่ควรจะขายคริปโตของคุณ?
เป็นการยากที่จะคาดเดาเวลาที่ดีที่สุดในการขายคริปโตของคุณ บทความนี้จะช่วยคุณใช้กลยุทธ์พื้นฐานเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและสามารถทำกำไรได้
โดย Emi La Capra
2 years ago
6ในการอ่าน
Blockchain
ใครคือผู้ร่วมลงทุนที่โดดเด่นในวงการ?
CoinMarketCap Academy ได้ทำการพิจารณาบทบาทของผู้ร่วมลงทุนและกองทุนร่วมในคริปโตและ VC ชั้นนำบางส่วนในเกม
โดย Will Kendall
2 years ago
9ในการอ่าน